ทำไมงานประเภทนี้ถึงราคาสูงนัก

งานออกแบบหุ่นไฟเบอร์กลาส หมึกอวกาศ
เหตุผลที่งาน ไฟเบอร์กลาสราคา จึงสูง
หลายคนคงสงสัยว่า เหตุใดงาน ไฟเบอร์กลาสราคา จึงสูงทั้งๆที่ดูๆงานก็ไม่เห็นมีอะไรมากน่าจะทำง่ายๆ(สำหรับคนที่ไม่ได้ทำอ่ะน๊ะ) วัสดุอุปกรณ์ก็ไม่น่าจะแพง ทำไมหุ่นไฟเบอร์กลาสสูงแค่ 150 ซม. ราคาถึงแพงนัก
เห็นหุ่นปูนแต่งสวนตัวนึงก็ไม่เท่าไหร่เองนี่
ครับ เรามาดูขั้นตอนการทำงานกันดีกว่า ว่ามันยุ่งยากซับซ้อนขนาดไหน ทำไมราคาถึงได้แพงนัก
เนื่องจากงานของเราเป็นงาน”สั่งทำ” จึงต้องมีขั้นตอนแรกคือ “การปั้น” ขึ้นต้นแบบ ซึ่งขั้นตอนนี้ถือว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญ ใช้เวลา และค่าใช้จ่ายสูงที่สุด (ส่วนมากจะอยู่ที่ค่าแรงช่างปั้นนี่แหล่ะที่สูง) งานจะออกมาดี ไม่ดี รูปร่างหน้าตาเป็นยังไง
ตรงกับแบบที่เราต้องการแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้เท่านั้น ซึ่งถ้าไม่ใช่งานสั่งทำ หรืองานที่เค๊ามีพิมพ์อยุ่แล้ว สังเกตุจาก งานนั้นมีให้เห็นอยู่ แล้วเราไปสั่ง อันนั้นแปลว่าเค๊าไม่ต้องมีขั้นตอน การปั้น
แล้ว ทั้งงบประมาณและเวลาก็ต้องน้อยกว่า(ถ้าเทียบขนาดและรายละเอียดงานเท่ากันน๊ะครับ)
การปั้นต้นแบบ จะเป็นวัสดุ หรือวิธีการอะไรก็ขึ้นอยู่กับรายละเอียดงาน และความถนัดของช่างแต่ละคน ส่วนมากก็มีแค่ ปั้นดิน ปั้นดินน้ำมัน แกะโฟม ขึ้นรูปด้วยไม้ พลาสวู้ด อะคริลิก วัสดุและวิธีการแต่ละอย่างก็จะให้รายละเอียดและลักษณะงานต่างกัน
ทีนี้อาจมีคำถามว่า ทำไม่ค่าแรงช่างปั้นถึงต้องสูงนัก ค่าแรงขั้นต่ำก็แค่ 300 เอง (ขอโทษน๊ะครับ ค่าแรง 300 เนี่ย มันโคตรจะไร้สาระ บางคนค่าแรง 100 นึงยังไม่คุ้มเลย หลับหูหลับตาให้ส่งเดช )นอกเรื่องแล้ว ผมว่ามันก็เหมือนๆอาชีพอื่นหน่ะแหล่ะ ที่คนที่มีฝีมือทำงานเก่งหรือเรียนสูงต้องได้ค่าแรงสูง ทั้งๆที่บางคนเรียนสูงก็ใช่ว่าจะทำงานดี คนทำงานได้ก็ไม่จำเป็นต้องเรียนมาตามนั้น จริงๆแล้วคนที่ฝึกฝนตนเองจนเก่งด้วยตัวเองโดยไม่ต้องเรียนมาเนี่ย น่าจะได้ค่าแรงสูงๆ เพราะแปลว่า เค๊าเก่งขึ้นมาโดย ไม่…ต้องทำคะแนน ไม่ต้องคอยเดาใจอาจารย์ว่าจะออกข้อสอบอะไร ไม่ต้องขอตังส์พ่อแม่ แต่ต้องมีความรับผิดชอบในตัวเองสูง บริหารจัดการตัวเองได้ มีหลักในการดำเนินชีวิต วิสัยทัศย์ที่ถูกต้อง และมีใจรักในงานที่ทำจริงๆ
ชักซับซ้อนไปแล้ว เอาง่ายๆน๊ะ ใครที่คิดว่าค่าแรงช่างปั้นสูงเกิน ลองหยิบดินน้ำมันมาซักก้อน แล้วปั้น งู ทีวี หรือวัว ควายให้ดูหน่อย ส่วนมากน่าจะได้ไอ้ก้อนๆอะไรซักอย่างมาแทน ที่รู้เพราะเมื่อก่อนผมก็เป็นเหมือนกัน
มีเหมือนกันที่ไปเห็นงานปูนปั้นโอทอปมา แล้วบอกว่าถูกดี ก็แล้วแต่ครับ ถ้าคิดว่าเหมาะแล้ว อันนี้รสนิยมของใครของมัน ว่ากันไม่ได้
ตรวจแบบปั้นผ่านเรียบร้อย ต่อไปก็คือการถอดพิมพ์ การถอดพิมพ์ก็มีหลายวิธีหลายวัสดุ เช่นปูนปลาสเตอร์ ยางพารา ยางซิลิโคน ไฟเบอร์กลาส แต่ที่นี่ส่วนมากถ้าทำชิ้นงานแค่ชิ้นเดียว และงานไม่ซับซ้อนมากก็ทำปูนปลาสเตอร์ เพราะง่าย ประหยัด แต่จะใช้ได้แค่ชั่วคราว ชิ้นสองชิ้นก็แตกสลาย
การถอดพิมพ์ขั้นแรกก็ต้องแบ่งพิมพ์เป็นส่วน เพื่อให้ง่ายต่อการถอดพิมพ์ ถ้าต้นแบบเป็นโฟมก็ใช้สังกะสีกั้นพิมพ์ แล้วผสมปูนปลาสเตอร์ พอกลงบนชิ้นงาน ให้ได้ความหนาพอประมาณ ใส่ใยมะพร้าว เสริมไม้ จนเสร็จเรียบร้อยทุกด้าน แล้วก็แกะพิมพ์
ขั้นตอนแกะพิมพ์นี่ก็ไม่เบาน๊ะครับ ไม่เบาคือมันไม่เบาจริงๆถ้าชิ้นงานมันใหญ่ ถ้าคนน้อยนี่ยกกันอานเลย แกะพิมพ์เสร็จเรียบร้อย ก็เอาพิมพ์ปูนปลาสเตอร์มาขัดแต่งให้เรียบร้อย ก่อนที่จะหล่อไฟเบอร์กลาสอีกทีครับ
ต่อจากขั้นตอนทำพิมพ์(molding) ก็เป็นการหล่อไฟเบอร์กลาส แล้วครับ ขึ้นตอนนี้เราจะได้เห็นชิ้นงานออกมาเป็นรูปธรรมซักที คือเป็นวัสดุจริงๆที่เราจะใช้ครับ แต่ใช่ว่าจะเสร็จแล้วน๊ะ ต้องมีอีก 2-3 ขั้นตอน(บอกแล้วว่าไม่ใช่ง่ายๆ)
การผลิตไฟเบอร์กลาส คือมีวิธีการคือ ใช้น้ำยา”เรซิ่น” โพลีเอสเตอร์เรซิ่นนี่แหล่ะ แต่เป็นเกรดไฟเบอร์กลาส น้ำยาเรซิ่นมีหลายเกรดครับ เหมาะกับงานแต่ละประเภท เกรดหล่อทั่วไป หล่อใส ทำกรอบรูป ทำไฟเบอร์กลาส ทนไฟ ทนสารเคมี ทาลงไปในพิมพ์ครับ อ้อ ก่อนทาน้ำยาเรซิ่น ต้องทากันติดก่อนน๊ะครับ พวกน้ำสบู่ แว้กถอดพิมพ์ วาสลีน ถ้าลืมก็เป็นเรื่องเลยครับ งัดกันร้องไห้เลย พอน้ำยาเรซิ่นชั้นแรกแห้งสนิทแล้วก็ต้องปู “ใยแก้ว” เพื่อเป็นตัวเสริมแรงเรซิ่นให้แข็งแรง อยู่ทรง ไม่เปราะ แล้วก็ทาน้ำยาเรซิ่นลงบน ใยแก้วอีกรอบ ขั้นตอนทาน้ำยาเรซิ่นลงบนใยแก้วนี่สำคัญมากถ้าคนทำ ทำไม่เป็น ใยแก้วไม่เรียบร้อย น้ำยาไหลกอง งานก็ออกมาไม่ดี จะมีผลไปถึงผิวชิ้นงานไม่เรียบสวย ไม่แข็งแรง น้ำหนักมากเกินจำเป็น และยังเปลืองอีกด้วย คนที่จะทำขั้นตอนนี้ต้องฝึกมาอย่างดีครับ ใช่ว่าใครๆก็ทำได้ ทำได้แหล่ะแต่ไม่ดีแน่ๆ
?หลังจากทาน้ำยาบนใยแก้วแล้ว ก็อาจทำซ้ำอีกรอบหรือสองรอบแล้วแต่ต้องการความหนาชิ้นงานขนาดไหน เบอร์ใยแก้วที่ใช้ละเอียดหรือหยาบ
เสร็จแล้วก็รอให้แห้งสนิทจนแข็งอาจจะ 2-3 ชั่วโมง ให้ดีทำให้เสร็จตอนเย็นๆแล้วทิ้งไว้ เช้าค่อยมาแกะจะแข็งกำลังดีเวลาถอดจากพิมพ์จะได้ไม่แตก
ต่อไปก็เป็นการประกอบชิ้นงานไฟเบอร์กลาสให้เป็นรูปเป็นร่าง
พอได้ชิ้นงานไฟเบอร์กลาสออกมาแล้ว ทีนี้ต้องนำมาประกอบให้เป็นรูปเป็นร่างเพราะตอนที่ถอดพิมพ์ต้องถอดเป็นชิ้นๆเพื่อให้ง่ายต่อการถอดครับ
เมื่อประกอบเสร็จก็ต้องนำมาขัดแต่งให้ชิ้นงานเรียบ ตึง สวย ขั้นตอนนี้จะใช้เวลา และฝีมือพอสมควร จริงๆแล้วก็เหมือนกับการขัดแต่ง โป๊ว สีรถยนต์หน่ะแหล่ะครับ ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน
ขัดแต่งโป๊วสีเรียบร้อยแล้วถึงจะเริ่มลงสี
ยังมีต่อครับ