ขนาดเปลี่ยนนิดเดียวแต่ราคาสูงขึ้่นเย๊อะจัง

เจอปัญหามากะตัวบ่อยมากเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับราคาที่สัมพันธ์กับขนาด
บางทีอยากได้งานที่สูงขึ้นแค่ ฟุตเดียว ทำไมราคาถึงต่างกันเย๊อะนัก อย่างหุ่นขนาด 150 ซม.
ราคา 3 หมื่นบาท หุ่นขนาด180 ซม ทำไมไม่ราคาซํก 36,000 แต่ราคากลับเป็น 4 หมื่นกว่าเลย
ที่ผ่านมานี่เอง ลูกค้าให้ทำราคา 150 ซม นี่แหล่ะ ก็ราวๆสามหมื่นกว่าๆ ทีนี้ลูกค้าอยากได้อีกตัว 2 เมตร
ราคามันกลายเป็นเท่าตัวซ๊ะนี่ เราก็พยายามอธิบายแต่เค๊าก็ไม่ฟัง บอกว่ารู้สึกว่าไม่น่าจะถึง การคำนวน
ราคางาน เน้นคำว่าคำนวนน๊ะครับ สามารถพิสูจน์ได้ด้วยกฏคณิตศาสตร์ครับ ไม่ควรใช้ความรู้สึกน๊ะครับ
ความรู้สึกมักจะหลอกเราได้ครับ แต่ตัวเลขไม่หลอกครับ อย่าใช้ความรู้สึกกับการคำนวน
จะพยายามอธิบายให้ฟังเท่าที่ทำได้น๊ะครับ สมมุติ เราไปจ้างช่างปูกระเบื้อง มาปูกระเบื้องหน้าบ้านเรา ช่างคิด
ตารางเมตรละ 200 บาท ตารางเมตรหมายถึง กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตรน๊ะครับ ถ้าบ้านเรากว้าง 2 เมตร ยาว 2
เมตร หมายความว่า เราต้องจ่ายค่าปูกระเบื้อง 400 บาทครับ ใช่ที่ไหนหล่ะครับ ขืนจ่าย 400 บาท มีหวังช่างได้เอา
อะไรเขวี้ยงใส่หน้าเอาครับ ถ้าขนาดที่ปู กว้าง 2 เมตร ยาว 2 เมตร ก็ต้องเอา 2 ไปคูณ 2 ครับ ได้เท่าไหร่ครับ 2 หนึ่งสอง
สองสองสี่ สี่ครับ 4 ตารางเมตร พอได้ขนาดมาแล้วค่อยเอาขนาดไปคูณกับราคาต่อตารางเมตรก็ได้ เท่ากับ 200คูณ4
200คูณ4 ก็เท่ากับ 800ครับ ราคาต่างกันมากน๊ะครับ เท่าตัวเลย
ทีนี้ถ้า เกิดเราเห็นว่าค่าปูกระเบื้องแค่ 800 ราคาแค่นี้จ่ายสบายมาก อย่ากระนั้นเลย ปูมันหมดทั้งบ้านเลยละกัน เกิดบ้าน
เรามีพื้นที่ กว้าง 6 เมตร ยาว 6 เมตร หล่ะต้องจ่ายค่าปูกระเบื้องเท่าไหร่ ถ้าใช้ความรู้สึกหล่ะ เมื่อกี๊ 2 เมตร 400 เอง งั้นถ้า 6
เมตรน่าจะซํก 1200 ได้ อ้อ ก็กว้่างขึ้นมา 3 เท่าไง ใช่ครับ ถ้าตามความรู้สึกอาจจะเป็นแบบนั้น แต่นี่เป็นชีวิตจริงครับ สามารถ
พิสูจน์ได้ด้วยคณิตศาสตร์ ป 4 ง่ายๆเลย พื้นที่เกิดจาก กว้างคูณยาวครับ ต้องเอากว้างไปคูณยาวถึงจะได้พื้นที่ครับ เพราะฉะนั้น
6คูณ6 เท่ากับ 36 ตารางเมตร ค่าปูตารางเมตรละ 200 เอา 36 คูณ 200 เท่ากับ 7,200 ครับ ต่างกับ 1,200 เย๊อะไม๊ครับ 6 เท่า
เลยน๊ะครับ ไม่น่าเชื่อ ก็ มันกว้างออกมาแค่ 6 เมตร เองทำไมมันมากมายมหาศาลขนาดนี้ แล้วจะมีเงินจ่ายค่าปูกระเบื้องเหรอ
อย่าไปบอกช่างน๊ะครับว่าดูแล้วรู้สึกว่าไม่น่าจะเกิน พันกว่าบาทเลยนี่ เดี๋ยวช่างจะนั่งหลับตาใช้ความรู้สึกทำงานให้น๊ะครับ คงไม่

ต้องคำนวนให้ดูอีกน๊ะครับว่าหยั่งงี้จะได้งานเมื่อไหร่
แล้วมันเกี่ยวกับการคำนวนราคาหุ่นไฟเบอร์กลาสยังไงหล่ะ ก็เกี่ยวอยู่ครับ แต่ไม่ทั้งหมด มันจะซับซ้อนกว่ามาก ที่ยกตัวอย่างงาน
ปูกระเบื้องให้ดูเพราะมันใกล้ตัวและเห็นชัดเจนกว่า แต่งานปูกระเบื้องเป็นแต่การคำนวนแบบ 2 มิติ คือกว้างคูณยาวแค่นั้น แต่งาน
ผลิตหุ่นไฟเบอร์กลาสเป็นการคำนวนแบบ 3 มิติครับ เพราะงานมีลักษณะลอยตัวมีปริมาตร และพื้นที่ด้วย การคำนวนซับซ้อนกว่ามาก
นัก เรียกว่าจริงๆแล้วไม่มีสูตรคำนวนแบบละเอียด แต่เราสามารถคำนวนคร่าวๆได้
ผมคงไม่สามารถอธิบายรายละเอียดได้ว่าราคาหุ่นตัวนึงได้มายังไงแต่จะสามารถเปรียบเทียบขนาดแต่ละขนาดให้ดูได้ว่าต่างกันยังไงซึ่งก็
มีผลกับราคาด้วย เพราะราคาการผลิตหุ่นไฟเบอร์กลาส เกิดจาก2-3 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกการปั้น หรือแกะต้นแบบ ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว
หรือ แกะโฟม ขั้นตอนนี้จะมีปริมาตรเข้ามาเกี่ยวข้อง เพราะต้องใช้เนื้อดิน หรือโฟมเป็นวัสดุ ต้องคำนวนแบบกว้าง ยาว สูง
กับขั้นตอนการหล่อไฟเบอร์กลาส ขั้นตอนนี้ มีทั้งปริมาตร คือน้ำยาเรซิ่นที่ใช่ สัมพันธ์กับพื้นที่ชิ้นงาน ซึ่งก็คือพื้นที่ ที่เราปูไฟเบอร์กลาสลง
ไปครับ นอกนั้นก็มีการขัดแต่ง การทำสี ซึ่งเนื้องานตรงนี้ก็จะมากน้อยก็ขึ้นกับพื้นผิวงาน กับรายละเอียดความซับซ้อนของงานด้วย
ดูตัวอย่างคร่าวๆกับ ก้อนสี่เหลี่ยมขนาด กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร สูง 1 เมตรครับ ปริมาตรของมันคือ 1 ลูกบาตรเมตร(กว้างคูณยาวคูณสูง)
สมมุติราคาอยู่ที่ 1 หมื่นเปรียบเทียบขนาดไฟเบอร์กลาส
บาทถ้วนครับ ทีนี้ถ้าเกิดเราอยากขยายเสกลงานเป็นสูง 1.5 เมตรหล่ะ เพิ่มแค่ 50 เซ็น นิดเดียวเอง ราคาน่าจะซัก หมื่นกว่าๆได้มั๊ง ลองพิสูจน์ดูได้ครับ
เราต้องการขยายความสูงเป็น 1.5 เมตรก็จริง แต่ด้านอื่นอีก 2 ด้านก็ต้องขยายตามกันให้ได้สัดส่วน(ไม่งั้นมันจะสูงชลูด เป็นต้นตาลแทน) ซึ่งก็จะเป็น กว้าง 1.5 ยาว 1.5 สูง 1.5 เมตร
คำนวนปริมาตรได้เท่ากับ 1.5X1.5X1.5 = 3.4 ลูกบาตรเมตร ปริมาตรเพิ่มขึ้นจากเดิม 3.4 เท่า!
ทีนี้มาดูของเดิม ปริมาตร 1 ลูกบาตรเมตร ราคา 1 หมื่นถ้วน ถ้าเป็น 1.5 เมตร ก็เอา 1หมื่นไปคูณ 3.4 =34,000!
มันเป็นไปได้ไง เพิ่มมาแค่ 50 เซ็นเอง จากหมื่นเดียวกลายเป็นสามหมื่นกว่าได้ไง ไม่จริงใช่ไม๊เนี่ย จริงครับ ตัวเลขไม่เคยโกหกครับ(ถ้าเรากดเครื่อง
คิดเลขไม่ผิดน๊ะ)จะให้เห็นภาพว่าขนาดแค่เพิ่มมา 50 เซ็น แต่มันใหญ่ต่างกันมาก ต้องดูรูปครับ ถึงจะเห็นว่ามันต่างกันหยั่งกะพ่อกะลูกเลย เพราะ
มันเกิดจากการคำนวน 3 มิติครับ ขนาดแค่เพิ่มมานิดเดียวแต่ทำให้เนื้องานมันต่างกันได้มากครับ การคำนวน 3 มิติมันน่ากลัวขนาดนี้หล่ะครับ จริงๆแล้ว
มีที่น่ากลัวกว่านี้อีกครับ ดอกเบี้ยทบต้นไงครับ มันสามารถเพิ่มแตกหน่อได้เป็นร้อยเท่าพันทวี เพราะมันมีการคำนวนระยะเวลากับปริมาณที่เพิ่มทบไปเรื่อยๆ
เป็นตัวแปร อย่าไปติดกับมันเข้าให้หล่ะครับ ถอนตัวยากเลย
นอกเรื่องไปไกล เดี๋ยวใครจะนึกว่าเราปล่อยเงินกู้นอกระบบ
ทีนี้พอเข้าใจแล้วน๊ะครับว่าเหตุใดงานไฟเบอร์กลาส ที่ขนาดเพิ่มขึ้นนิดเดียวแต่ราคามันเพิ่มเย๊อะจังครับ ถ้าไม่เข้าใจสามารถถามได้ครับที่เบอร์
0814022344 line id:anubistfx

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *